Search this blog


Home About Contact
สนับสนุนโดย อ.บุญญลักษม์ ผู้จัดทำ อนุชิต112 สิชล113 พงษ์พัฒน์122 เขตโสภณ138 ศุภสิน141 อังกฤษ167 พิชิต189
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

การใช้ ICT อย่างสร้างสรรค์  

เนื้อหา

จากข่าวคราวของน้องอายุ 15 ปี ที่ได้ไปค้างคืนกับพระในจังหวัดขอนแก่น โดยติดต่อรู้จักการผ่านทางเว็บไซต์ HI 5 ซึ่งเป็นเว็บไซต์ยอดนิยมในขณะนี้ ทำให้หลายฝ่ายหันกลับมาให้ความสนใจกับเว็บไซต์นี้รวมถึงเว็บไซต์ที่มีพื้นที่ที่เรียกว่า Blog ที่ให้ผู้ใช้บริการหรือ Blogger สามารถนำรูปภาพ ข้อความ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหวของตนไปใส่ไว้ในพื้นที่ที่ตนเองสร้างขึ้นได้ รวมทั้งหันกลับมาให้ความสำคัญกับแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในทางไม่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ อีกครั้ง

ที่ต้องเน้นว่า "อีกครั้ง" เพราะปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ย้อนหลังกลับไปเมื่อปี 2551 รูปแบบของการใช้งานแบบสนทนาออนไลน์ในโปรแกรมที่เรียกว่า ICQ และ Pirch เป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มชาวไอที ไม่เว้นแม้แต่เด็กๆ เพราะการติดต่อสื่อสารแบบนี้ประหยัด สะดวก รวดเร็ว เป็นพื้นที่ที่เด็กๆ สามารถมีเพื่อนได้อย่างไม่จำกัด และอาจจะเป็นช่องทางในการฝึกปรือภาษาอังกฤษ และ ภาษาอื่นๆ อีกด้วย ในทางตรงข้ามและเป็นส่วนใหญ่เสียด้วยก็คือ การแช็ตของผู้ร้ายที่นำไปสู่การล่อลวงเด็กในฐานะ "เหยื่อ" ในคดีข่มขืน อนาจาร ทำร้ายร่างกาย

ไม่นับรวมถึงเว็บไซต์ในรูปของกระดานข่าว หรือ Webboard ที่เปิดพื้นที่ให้กลุ่มชอบโชว์สามารถอัพโหลดภาพเปลือยของตนเองขึ้นสู่กระดานข่าวในเว็บไซต์ต่างๆ พร้อมทั้งระบุที่ติดต่อผ่านทางโปรแกรมสนทนาออนไลน์ ในยุคนี้ก็หนีไม่พ้นโปรแกรม MSN ที่สำคัญหากข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลของเด็กๆ ปัญหาจะยิ่งหนักหนาสาหัส เพราะเขาเหล่านี้ยังมีวิจารณญาณน้อยกว่าผู้ใหญ่ โอกาสถูกล่อลวงและโอกาสที่ผู้ร้ายจะเข้ามาถึงตัวเด็กนั้นง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก

ยังหมายรวมถึงเว็บไซต์สื่อทางเพศที่ไม่สร้างสรรค์ และเป็นภัยต่อสังคมไทย โดยเฉพาะเว็บไซต์ประเภทแอบถ่าย โดยใช้นักศึกษาเป็นเป้าหมายของการแอบถ่าย การขายอุปกรณ์ทางเพศ ทั้ง ยานอนหลับ ยาปลุกเซ็กซ์ ซึ่งกำลังระบาดอย่างหนักในบ้านเรา

หลายปีต่อมา โปรแกรม Camfrog การสนทนาออนไลน์พร้อมทั้งกล้อง (Webcam) ที่ทำให้ผู้เล่นสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านกล้องได้ด้วย

อันที่จริงแล้ว เทคโนโลยีนั้นหากถูกใช้ไปในทางที่สร้างสรรค์ก็จะมีประโยชน์อย่างมาก แต่ทว่าคนจำนวนหนึ่งเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ไปในทางที่ไม่สร้างสรรค์ และกำลังกลายเป็นวัฒนธรรมในการใช้งานไอซีทีอย่างทำลายสังคมไทย

ปัญหาที่ต้องกลับมาตอบให้ได้ในเวลานี้ก็คือ เราเตรียมรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีเหล่านี้มากน้อยเพียงใด

วันนี้เราเห็นแล้วว่า การเติบโตทางเทคโนโลยี เดินสวนทางกับวัฒนธรรมในการใช้งานในทางสร้างสรรค์ขึ้นทุกขณะ การแก้ปัญหาที่ตรงจุดนั้น ไม่ได้หมายถึงความเพียงแค่การเข้าไปปิดกั้นเว็บไซต์เหล่านั้น แต่ต้องเร่งสร้างความเข้มแข็งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับมนุษย์ในสังคมไทย หรืออีกนัยหนึ่งก็กำลังบอกว่า เราต้องเร่งกลับมาสร้างวัฒนธรรมในการใช้งานไอซีทีอย่างสร้างสรรค์กันอย่างเอาจริงเอาจังกันเสียที

เป้าหมายของการไปสร้างวัฒนธรรมก็คือ มนุษย์ในสังคมไทย ต้องเน้นว่า หมายถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย หมายถึง ภาครัฐ หมายถึง ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมไปถึงภาควิชาการ

การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับมนุษย์ในสังคมไทยนั้น โดยหลักการไม่ยาก เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ หากพัฒนาต่อไปถึงขั้นของการสร้างวัฒนธรรมในการใช้งานไอซีอย่างสร้างสรรค์ ทั้งการสร้างวัฒนธรรมของความรับผิดชอบต่อตนเอง คนอื่น วัฒนธรรมของการนับถือ และปฏิบัติตามแนวทางของจริยธรรมในการใช้งานในทิศทางที่สร้างสรรค์ ก็จะเป็นเรื่องที่จะช่วยแก้ไขปัญหาที่รากเหง้าของปัญหาได้อย่างแท้จริง

เสนอในเชิงปฏิบัติการ ก็คือ เริ่มจากเสนอให้ภาครัฐสร้างห้องเรียนพ่อแม่ ห้องเรียนชุมชน "ร่วมกัน" ระหว่างพ่อแม่ เด็ก ชุมชน ให้รู้จักพิษภัยที่จะมาพร้อมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมไปถึงการใช้งานในเชิงสร้างสรรค์ การปลูกฝังจริยธรรมในการใช้งานที่ไม่ไปทำร้ายคนอื่นหรือสังคม

เสนอคุณครู และกระทรวงศึกษาธิการ เน้นให้นักเรียนต้องสร้างเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกที่สามารถถ่ายทอดเรื่องของครอบครัว ห้องเรียน โรงเรียน และ ชุมชน เช่น เว็บไซต์เกี่ยวกับการรักษาลุ่มน้ำในท้องถิ่น

ต่อมา เสนอให้ผู้ประกอบการ รัฐ และชุมชน ร่วมกันสร้างพื้นที่ในการเข้าถึงสื่ออินเตอร์เน็ตที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยให้เด็ก เยาวชน ไม่ต้องอยู่ในสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อ "ภัย" ได้ การสร้างและพัฒนาให้เกิด "ร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่" ที่ "ปลอดภัยและสร้างสรรค์" ที่ผู้ประกอบการช่วยดูแลเด็กๆ ในร้าน โดยที่ภาครัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุน ส่งเสริมการประกอบการให้กับผู้ประกอบการน้ำดีเหล่านี้สามารถอยู่รอดในทางธุรกิจได้ด้วย

การสร้างการมีส่วนร่วมให้ชุมชนร่วมดูแลคุ้มครองลูกหลานในชุมชน ยกตัวอย่างกรณีของร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ หากเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามาช่วยดูแลจัดการ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับดูแลความปลอดภัย สร้างสรรค์ของร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ในชุมชน

ที่ว่าปลอดภัย นั้นก็หมายถึงการพิจารณาประกอบการภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเช่น พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้ว เช่น การจดทะเบียนขออนุญาตประกอบการ การเปิด-ปิด การให้เด็กเข้ามาใช้บริการ เป็นต้น

ในขณะที่ความสร้างสรรค์นั้น เน้นการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม การคืนกำไรให้กับสังคม ทั้งเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม การดูแลคุ้มครองเด็กๆ ในร้าน การทำให้ร้านเกมคาเฟ่เป็นแหล่งเรียนรู้ในการใช้งานเชิงสร้างสรรค์ เช่น การอบรมวิธีการทำเว็บไซต์ในเชิงสร้างสรรค์ อบรมเทคนิคการนำเสนอเรื่องราวของชุมชน ก็น่าจะเป็นเรื่องที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้อีกทางหนึ่ง

จากการเริ่มต้นลงมือปฏิบัติการจัดทำกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก เยาวชน ครอบครัว และชุมชน ขั้นต่อมาก็คือ การรักษาความ "สม่ำเสมอ" ในการทำงาน

เพราะที่ผ่านมา กระบวนการเหล่านี้มักจะมาๆ ไปๆ ตามแต่กระแสความสนใจของภาคนโยบายการเมือง ซึ่งโดยมากเน้นการสร้างความเติบโตทางโครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แต่ ความเจริญเติบโตทางความรู้ภูมิคุ้มกันก็ปล่อยไปให้ค่อยเป็นค่อยไป และมักเติบโตไม่ทันความก้าวหน้าทางฮาร์ดแวร์ เราจึงต้องประสบกับปัญหาเรื่องนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ดังนั้น จงอย่ารอนโยบายจากรัฐแต่เพียงอย่างเดียว เราต้องสร้างวัฒนธรรมของความรับผิดชอบ รักถิ่นฐานบ้านเกิดของเราขึ้น เพราะนี่คือ ยาที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน เพราะผู้รับประโยชน์ก็คือ ลูกหลานในชุมชนของเราเอง

หากมองย้อนกลับมา อาจจะไม่ต้องรวดเร็วแบบพลิกฝ่ามือในการเร่งสร้างวัฒนธรรมในการใช้งานไอซีทีอย่างสร้างสรรค์ แต่สิ่งแรกที่สำคัญก็คือ การเร่งสร้างพื้นฐานความรู้ความเข้าใจให้กับพ่อแม่ และชุมชน เสียก่อน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับมนุษย์ในสังคมไทย หลังจากเกิดความเข้าใจ ความตระหนักรู้ถึงพิษภัยและความรับผิดชอบต่อสังคมรู้จักการใช้ไอซีทีในทางสร้างสรรค์ต่อตนเองและสังคมแล้ว ความเข้มแข็งเหล่านี้ก็จะคลี่คลายตัวเป็น "วัฒนธรรมในการใช้ไอซีทีที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์" ได้อย่างแท้จริงต่อไป


แนวคิด

:-วันนี้เราเห็นแล้วว่า การเติบโตทางเทคโนโลยี เดินสวนทางกับวัฒนธรรมในการใช้งานในทางสร้างสรรค์ขึ้นทุกขณะ การแก้ปัญหาที่ตรงจุดนั้น ไม่ได้หมายถึงความเพียงแค่การเข้าไปปิดกั้นเว็บไซต์เหล่านั้น แต่ต้องเร่งสร้างความเข้มแข็งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับมนุษย์ในสังคมไทย หรืออีกนัยหนึ่งก็กำลังบอกว่า เราต้องเร่งกลับมาสร้างวัฒนธรรมในการใช้งานไอซีทีอย่างสร้างสรรค์กันอย่างเอาจริงเอาจังกันเสียที
:-เป้าหมายของการไปสร้างวัฒนธรรมก็คือ มนุษย์ในสังคมไทย ต้องเน้นว่า หมายถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย หมายถึง ภาครัฐ หมายถึง ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมไปถึงภาควิชาการ
:-การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับมนุษย์ในสังคมไทยนั้น โดยหลักการไม่ยาก เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ หากพัฒนาต่อไปถึงขั้นของการสร้างวัฒนธรรมในการใช้งานไอซีอย่างสร้างสรรค์ ทั้งการสร้างวัฒนธรรมของความรับผิดชอบต่อตนเอง คนอื่น วัฒนธรรมของการนับถือ และปฏิบัติตามแนวทางของจริยธรรมในการใช้งานในทิศทางที่สร้างสรรค์ ก็จะเป็นเรื่องที่จะช่วยแก้ไขปัญหาที่รากเหง้าของปัญหาได้อย่างแท้จริง
:-เสนอในเชิงปฏิบัติการ ก็คือ เริ่มจากเสนอให้ภาครัฐสร้างห้องเรียนพ่อแม่ ห้องเรียนชุมชน "ร่วมกัน" ระหว่างพ่อแม่ เด็ก ชุมชน ให้รู้จักพิษภัยที่จะมาพร้อมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมไปถึงการใช้งานในเชิงสร้างสรรค์ การปลูกฝังจริยธรรมในการใช้งานที่ไม่ไปทำร้ายคนอื่นหรือสังคม
:-หากมองย้อนกลับมา อาจจะไม่ต้องรวดเร็วแบบพลิกฝ่ามือในการเร่งสร้างวัฒนธรรมในการใช้งานไอซีทีอย่างสร้างสรรค์ แต่สิ่งแรกที่สำคัญก็คือ การเร่งสร้างพื้นฐานความรู้ความเข้าใจให้กับพ่อแม่ และชุมชน เสียก่อน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับมนุษย์ในสังคมไทย หลังจากเกิดความเข้าใจ ความตระหนักรู้ถึงพิษภัยและความรับผิดชอบต่อสังคมรู้จักการใช้ไอซีทีในทางสร้างสรรค์ต่อตนเองและสังคมแล้ว ความเข้มแข็งเหล่านี้ก็จะคลี่คลายตัวเป็น "วัฒนธรรมในการใช้ไอซีทีที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์" ได้อย่างแท้จริงต่อไป taysuza 138

What next?

You can also bookmark this post using your favorite bookmarking service:

Related Posts by Categories