Search this blog


Home About Contact
สนับสนุนโดย อ.บุญญลักษม์ ผู้จัดทำ อนุชิต112 สิชล113 พงษ์พัฒน์122 เขตโสภณ138 ศุภสิน141 อังกฤษ167 พิชิต189
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

กทช : นักกฎหมายชี้ กทช.หมดอำนาจจัดสรรคลื่น 3จี  





กทช.เปิดเวทีถกความคิดเห็นด้านกฎหมาย เรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบุคณะกก.หมดอำนาจจัดสรรคลื่นความถี่3จี ด้วยการประมูล…

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (14 ม.ค.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. จัดเสวนาทางวิชาการ เรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and Beyond) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการด้านกฎหมาย ในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ให้ผู้มีส่วนได้เสีย มีความเข้าใจต่อกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าว ด้วยวิธีการประมูล ในประเด็นข้อกฎหมาย และนำข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นต่างๆ มาประกอบการดำเนินการเตรียมจัดสรรคลื่นความถี่ต่อไป

นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ กล่าวว่า หลังจากเกิดการปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 ที่ผ่านมา ตามกฎหมายทำให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. หมดอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ลง เพราะรัฐธรรมนูญ 2540 ได้สิ้นสุดไปแล้วตามการประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่รัฐบาลในขณะนั้น ไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด และต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาลชุดปัจจุบัน ทำให้ คณะกก.กทช.ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่

นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด กล่าวว่า การปฏิบัติหน้าที่ของ กทช.ขณะนี้ ตามหลักการมีเหตุผล 2 ประการ ได้แก่ 1.เพื่อประโยชน์สาธารณะของประเทศ และ 2.การปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ โดยส่วนตัวมองว่า เป็นเพียงการดำเนินงานตามหน้าที่ โดยเป็นหลักการ เพื่อประโยชน์สาธารณะของประเทศ ภายใต้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2543 ส่วน กทช. มีอำนาจออกประกาศใหม่ อาทิ การจัดสรรคลื่นความถี่ 3 จี หรือไม่นั้น กทช. ยังไม่มีฐานอำนาจที่จะทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญปัจจุบันยังคงไม่เอื้อ

อัยการสูงสุด กล่าวต่อว่า พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ เดิมได้กำหนดให้การจัดสรรคลื่นความถี่ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ต้องเป็นอำนาจร่วมระหว่าง กทช. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ หรือ กสช. ไม่ใช่มาจากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มองว่าการแก้ปัญหาในเรื่องนี้รัฐบาลควรประกาศใช้ ร่าง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. … โดยเร็วที่สุด

นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ รองอธิการบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ มธ. กล่าวว่า กทช.ยังคงมีอำนาจตามกฎหมายเพราะเป็นองค์กรอิสระถึงแม้รัฐธรรมนูญ 2550 จะได้เปลี่ยนหลักการณ์ให้รวมองค์กรอิสระ กทช.และ กสช.ให้เป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. นอกจากนี้ กทช. ยังมีอำนาจจัดสรรคลื่นความถี่ 3 จี ต่อไปได้

รองอธิการบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.กล่าวต่อว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ระบบใหม่ หากยังติดปัญหาสัมปทานจนไม่สามารถเดินหน้า 3 จีได้จะทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสในการพัฒนาประเทศ และเพื่อให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) สามารถแข่งกับเอกชนได้ ภาครัฐควรตั้งบริษัทขึ้นมาบริหารสินทรัพย์ เพื่อให้ทั้งสองหน่วยงานเดินหน้าแบบเอกชนได้ 100 % เพื่อแข่งกับผู้ให้บริการรายอื่น

นายธัช บุษฎีกานต์ ผู้อำนวยการด้านกฎหมายโทรคมนาคมและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎข้อบังคับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาคเอกชนต้องการให้เปิดประมูลใบอนุญาต 3จี โดยเร็วที่สุด เนื่องจาก ถ้าดำเนินการโทรศัพท์ 2 จี ไปเรื่อยๆ ผู้บริโภคจะได้ใช้ของแพงแต่มีคุณภาพที่ด้อยกว่าประเทศอื่น เพราะอุปกรณ์ 2จี เลิกผลิตแล้ว



นายรักคุด 122

What next?

You can also bookmark this post using your favorite bookmarking service:

Related Posts by Categories